วันจันทร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2552
วันเสาร์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2552
บทวิเคราะห์
ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อเป็นชาติเชื้อไทย............
เพลงนี้เป็นเพลงที่เราได้ยินอยู่ทุกวัน ทั้งเช้าและเย็นซึ่งเป็นเพลงที่มีความสำคัญ เพราะเพลงนี้เป็นเพลงประจำชาติไทยของเรา ที่ทุกคนจะต้องร้องและตระหนักในเนื้อหาของเพลง ความเสียสละของบรรพบุรุษ ความเป็นชาติไทยที่บรรพบุรุษของเรา ได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อรักษาผืนแผ่นดินขวานทอง ไว้ให้เราได้อยู่ได้อาศัยในปัจจุบัน ซากกระดูกเถ้าถ่านเลือดของบรรพบุรุษ ที่ได้หลั่งลงบนผืนแผ่นดินผืนนี้ ที่ๆเราได้อยู่อาศัยเป็นที่ทำกินประกอบอาชีพต่างๆมากมาย โดยเฉพาะที่เราเป็นทหารเราตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน บรรพบุรุษ ได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นทหารคนหนึ่ง ได้ร่วมมือกับเพื่อนทหารด้วยกันคิดโครงงานขึ้นมาอย่างหนึ่งชื่อว่า’’ทหารกับการพัฒนา’’เพื่อเป็นการถ่ายทอดให้ผู้ที่เข้ามาศึกษา ได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของทหารที่นอกจากจะเป็นรั้วของชาติ คอยปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ ตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้วยังมีหน้าที่อื่นๆอีกมากมาย ที่ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เช่นเป็นผู้นำในการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานหน่วยอื่นๆ เพื่อจะได้มีความเข้าใจเข้าถึงและพัฒนา อีกทั้งเป็นการตอบแทนบุญคุณบรรพบุรุษและแผ่นดินของเรา โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตชนบทที่จะต้องเข้าไปจัดการ เพื่อให้เกิดผลและประโยชน์มากที่สุด
ชนบท หรือ ที่หลายๆคนเรียกกันติดปากว่า ”บ้านนอก” นั้นเป็นลักษณะของชุมชนที่มีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเฉพาะคนที่อยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) ของประเทศไทย ทุกคนก็จะมองเห็นภาพที่มีแต่ความแห้งแล้ง ล้าสมัย มีควาย ไม่มีการพัฒนาขาดความเจริญไม่มีเทคโนโลยี แต่นั่นก็เป็นความคิดที่ถูกแต่ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะชนบทนั่นคือชุมชนที่คนอาศัยกันอยู่ห่างไกลออกไป จากสภาพความเป็นเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย โดยการพึ่งพากับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นการประกอบอาชีพชีวิตความเป็นอยู่ มีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความเชื่อเกี่ยวกับหลักศาสนา ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมทางศาสนาที่ในแต่ละชุมชน ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันเช่น ประเพณีการโดนตา ประเพณีวันสารท บุญบั้งไฟ สงกรานต์ และอีกหลายๆประเพณี จากชีวิตที่มีการพึ่งพาธรรมชาติ ชาวชนบทก็ได้มีวิธีการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นมาที่เราเรียกว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” คือการที่ชาวชนบทผลิตข้าวของเครื่องใช้ ด้วยมือของตนเอง ได้แก่ การจักรสาน การถักทอผ้า การปั้นเครื่องปั้นดินเผา ในช่วงแรกรูปแบบของการผลิต เป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในครัวเรือนของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน แต่ในปัจจุบันเรื่องของเศรษฐกิจการตลาด เข้ามามีบทบาททำให้การผลิตเปลี่ยนแปลงไป เป็นการผลิตเพื่อเข้าตลาดสู่กระบวนการขายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พื้นที่ในชุมชนในชนบทค่อนข้างที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตทางด้านปัจจัยสี่ ที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะปัจจัยทางด้านการเกษตร ส่วนในด้านความคิดที่ว่าชนบทไม่มีการพัฒนานั้นเป็นเพียงความคิดที่หลงผิดไปกับคำว่า พัฒนา คือการที่จะต้องมี รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ รถไฟฟ้า ตึกอาคารที่ใหญ่โตโรงงานที่คอยสร้างแต่มลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนที่อยู่อาศัย หากแต่การพัฒนาของชนบทคือ การพัฒนาทางด้านจิตใจ มีความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน คนในหมู่บ้านช่วยกันทำงาน หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ลงแขก” ลงแขก คือ การขอความร่วมมือจากเพื่อนบ้านในการช่วยทำงาน โดยที่ไม่มีเงินเป็นผลตอบแทน มีแต่น้ำใจของคนในชุมชนที่ช่วยกันทำด้วยความเต็มใจ แต่ในชนบทยังขาดการจัดการที่ดีความเป็นระบบ ทหารก็เป็นส่วนที่เข้าไปมีบทบาทในการจัดการให้ความช่วยเหลือ ให้กับชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคมโดยทำเป็นโครงการขึ้นมา แล้วชักชวนชักนำ พาชาวบ้านพัฒนาถนนหนทาง
เช่นการถมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ขุดคลองระบายน้ำข้างถนน ปลูกต้นไม้ริมทาง ส่วนในด้านการเกษตร ทหารเราก็มีหน่วยงานที่ชื่อว่า หน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่ (นพค.) เข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรการทำปุ๋ย ความรู้เกี่ยวกับการทำ EM ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมนี้เป็นอาชีพหลักของชาวชนบท และทหารยังส่งเสริมให้ชาวชนบททำเกี่ยวกับการเกษตรแบบผสมผสาน ยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างครอบครัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ครอบครัวจะได้มีความเข้มแข็ง ชุมชนก็จะเข้มแข็งและประเทศชาติก็จะเข้มแข็งในที่สุด
คงทราบกันดีว่าชาวชนบททำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก การเกษตร ก็คือ การปฏิบัติที่เกี่ยวกับที่ดิน เพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมา โดยการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติ การเกษตรประกอบไปด้วย
การกสิกรรม คือ การปลูกพืช
การปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์บก
การประมง คือ การเลี้ยงสัตว์น้ำ และ การจับสัตว์น้ำ
การป่าไม้ คือ การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์
การเกษตรเป็นกิจกรรมที่สำคัญ เพราะเป็นที่มาของปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก และยังมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังจะเห็นได้จากการส่งสินค้าการเกษตรออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นการสร้างเสริมให้ประชาชนชาวไทย ในเขตชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการที่มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ลักษณะของการทำการเกษตรของคนในชนบท นั้นมีการพึ่งพาน้ำจากธรรมชาติและเป็นการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว คือ การทำนาก็จะทำนาเพียงอย่างเดียว แต่พอการทหารได้เข้ามามีบทบาทในการนำเอาความรู้ เกี่ยวกับการเกษตรเข้ามาถ่ายทอดให้ชาวบ้านได้รู้และเข้าใจ พร้อมทั้งนำหลักการการเกษตรแบบผสมผสาน หลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาสนับสนุน ให้ชาวบ้านได้ทดลองทำและให้การสนับสนุนด้านปัจจัยต่างๆ ก็จะส่งผลให้รูปแบบการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไป ผลผลิตมีคุณภาพและได้ในปริมาณที่มากขึ้น
ได้มีการจัดทำโครงการเข้ามาให้ประชาชนได้ทำร่วมกับทหาร จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน เพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพให้กับคนในชุมชน ก่อให้เกิดการรักและหวงแหนในพื้นที่ชุมชนของตนเอง ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
ในอนาคตการเกษตรในประเทศไทย จะเป็นไปในสามรูปแบบคือ
- เกษตรแบบครัวเรือน แบบเล็กๆแรงงานในครัวเรือนตนเอง
- การเกษตรขนาดใหญ่
- การเกษตรก้าวหน้า จะอาศัยความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ทำการเกษตร สิ่งที่สำคัญก็คือ ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม กับวิถีการเกษตรแต่ละประเภท โดยจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด และทหารกับประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือ แก่กันและกันเพื่อความก้าวหน้าในด้านการต่างๆ ยังจะส่งผลให้ประเทศมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อที่ว่าประเทศของเราจะได้เป็นประเทศที่เข้มแข็งและมั่นคงตราบนานเท่านาน
เพลงนี้เป็นเพลงที่เราได้ยินอยู่ทุกวัน ทั้งเช้าและเย็นซึ่งเป็นเพลงที่มีความสำคัญ เพราะเพลงนี้เป็นเพลงประจำชาติไทยของเรา ที่ทุกคนจะต้องร้องและตระหนักในเนื้อหาของเพลง ความเสียสละของบรรพบุรุษ ความเป็นชาติไทยที่บรรพบุรุษของเรา ได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อรักษาผืนแผ่นดินขวานทอง ไว้ให้เราได้อยู่ได้อาศัยในปัจจุบัน ซากกระดูกเถ้าถ่านเลือดของบรรพบุรุษ ที่ได้หลั่งลงบนผืนแผ่นดินผืนนี้ ที่ๆเราได้อยู่อาศัยเป็นที่ทำกินประกอบอาชีพต่างๆมากมาย โดยเฉพาะที่เราเป็นทหารเราตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน บรรพบุรุษ ได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นทหารคนหนึ่ง ได้ร่วมมือกับเพื่อนทหารด้วยกันคิดโครงงานขึ้นมาอย่างหนึ่งชื่อว่า’’ทหารกับการพัฒนา’’เพื่อเป็นการถ่ายทอดให้ผู้ที่เข้ามาศึกษา ได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของทหารที่นอกจากจะเป็นรั้วของชาติ คอยปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ ตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้วยังมีหน้าที่อื่นๆอีกมากมาย ที่ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เช่นเป็นผู้นำในการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานหน่วยอื่นๆ เพื่อจะได้มีความเข้าใจเข้าถึงและพัฒนา อีกทั้งเป็นการตอบแทนบุญคุณบรรพบุรุษและแผ่นดินของเรา โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตชนบทที่จะต้องเข้าไปจัดการ เพื่อให้เกิดผลและประโยชน์มากที่สุด
ชนบท หรือ ที่หลายๆคนเรียกกันติดปากว่า ”บ้านนอก” นั้นเป็นลักษณะของชุมชนที่มีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเฉพาะคนที่อยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) ของประเทศไทย ทุกคนก็จะมองเห็นภาพที่มีแต่ความแห้งแล้ง ล้าสมัย มีควาย ไม่มีการพัฒนาขาดความเจริญไม่มีเทคโนโลยี แต่นั่นก็เป็นความคิดที่ถูกแต่ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะชนบทนั่นคือชุมชนที่คนอาศัยกันอยู่ห่างไกลออกไป จากสภาพความเป็นเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย โดยการพึ่งพากับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นการประกอบอาชีพชีวิตความเป็นอยู่ มีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความเชื่อเกี่ยวกับหลักศาสนา ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมทางศาสนาที่ในแต่ละชุมชน ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันเช่น ประเพณีการโดนตา ประเพณีวันสารท บุญบั้งไฟ สงกรานต์ และอีกหลายๆประเพณี จากชีวิตที่มีการพึ่งพาธรรมชาติ ชาวชนบทก็ได้มีวิธีการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นมาที่เราเรียกว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” คือการที่ชาวชนบทผลิตข้าวของเครื่องใช้ ด้วยมือของตนเอง ได้แก่ การจักรสาน การถักทอผ้า การปั้นเครื่องปั้นดินเผา ในช่วงแรกรูปแบบของการผลิต เป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในครัวเรือนของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน แต่ในปัจจุบันเรื่องของเศรษฐกิจการตลาด เข้ามามีบทบาททำให้การผลิตเปลี่ยนแปลงไป เป็นการผลิตเพื่อเข้าตลาดสู่กระบวนการขายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พื้นที่ในชุมชนในชนบทค่อนข้างที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตทางด้านปัจจัยสี่ ที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะปัจจัยทางด้านการเกษตร ส่วนในด้านความคิดที่ว่าชนบทไม่มีการพัฒนานั้นเป็นเพียงความคิดที่หลงผิดไปกับคำว่า พัฒนา คือการที่จะต้องมี รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ รถไฟฟ้า ตึกอาคารที่ใหญ่โตโรงงานที่คอยสร้างแต่มลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนที่อยู่อาศัย หากแต่การพัฒนาของชนบทคือ การพัฒนาทางด้านจิตใจ มีความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน คนในหมู่บ้านช่วยกันทำงาน หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ลงแขก” ลงแขก คือ การขอความร่วมมือจากเพื่อนบ้านในการช่วยทำงาน โดยที่ไม่มีเงินเป็นผลตอบแทน มีแต่น้ำใจของคนในชุมชนที่ช่วยกันทำด้วยความเต็มใจ แต่ในชนบทยังขาดการจัดการที่ดีความเป็นระบบ ทหารก็เป็นส่วนที่เข้าไปมีบทบาทในการจัดการให้ความช่วยเหลือ ให้กับชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคมโดยทำเป็นโครงการขึ้นมา แล้วชักชวนชักนำ พาชาวบ้านพัฒนาถนนหนทาง
เช่นการถมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ขุดคลองระบายน้ำข้างถนน ปลูกต้นไม้ริมทาง ส่วนในด้านการเกษตร ทหารเราก็มีหน่วยงานที่ชื่อว่า หน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่ (นพค.) เข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรการทำปุ๋ย ความรู้เกี่ยวกับการทำ EM ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมนี้เป็นอาชีพหลักของชาวชนบท และทหารยังส่งเสริมให้ชาวชนบททำเกี่ยวกับการเกษตรแบบผสมผสาน ยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างครอบครัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ครอบครัวจะได้มีความเข้มแข็ง ชุมชนก็จะเข้มแข็งและประเทศชาติก็จะเข้มแข็งในที่สุด
คงทราบกันดีว่าชาวชนบททำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก การเกษตร ก็คือ การปฏิบัติที่เกี่ยวกับที่ดิน เพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมา โดยการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติ การเกษตรประกอบไปด้วย
การกสิกรรม คือ การปลูกพืช
การปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์บก
การประมง คือ การเลี้ยงสัตว์น้ำ และ การจับสัตว์น้ำ
การป่าไม้ คือ การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์
การเกษตรเป็นกิจกรรมที่สำคัญ เพราะเป็นที่มาของปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก และยังมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังจะเห็นได้จากการส่งสินค้าการเกษตรออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นการสร้างเสริมให้ประชาชนชาวไทย ในเขตชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการที่มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ลักษณะของการทำการเกษตรของคนในชนบท นั้นมีการพึ่งพาน้ำจากธรรมชาติและเป็นการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว คือ การทำนาก็จะทำนาเพียงอย่างเดียว แต่พอการทหารได้เข้ามามีบทบาทในการนำเอาความรู้ เกี่ยวกับการเกษตรเข้ามาถ่ายทอดให้ชาวบ้านได้รู้และเข้าใจ พร้อมทั้งนำหลักการการเกษตรแบบผสมผสาน หลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาสนับสนุน ให้ชาวบ้านได้ทดลองทำและให้การสนับสนุนด้านปัจจัยต่างๆ ก็จะส่งผลให้รูปแบบการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไป ผลผลิตมีคุณภาพและได้ในปริมาณที่มากขึ้น
ได้มีการจัดทำโครงการเข้ามาให้ประชาชนได้ทำร่วมกับทหาร จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน เพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพให้กับคนในชุมชน ก่อให้เกิดการรักและหวงแหนในพื้นที่ชุมชนของตนเอง ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
ในอนาคตการเกษตรในประเทศไทย จะเป็นไปในสามรูปแบบคือ
- เกษตรแบบครัวเรือน แบบเล็กๆแรงงานในครัวเรือนตนเอง
- การเกษตรขนาดใหญ่
- การเกษตรก้าวหน้า จะอาศัยความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ทำการเกษตร สิ่งที่สำคัญก็คือ ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม กับวิถีการเกษตรแต่ละประเภท โดยจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด และทหารกับประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือ แก่กันและกันเพื่อความก้าวหน้าในด้านการต่างๆ ยังจะส่งผลให้ประเทศมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อที่ว่าประเทศของเราจะได้เป็นประเทศที่เข้มแข็งและมั่นคงตราบนานเท่านาน
องค์ความรู้
ชนบท
ความหมาย[ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป. (ป., ส. ชนปท).
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาพื้นฐานของภาคตะวันออกเฉียงหรือภาคอีสาน ก็คือ การเพาะปลูกได้เพียงฤดูเดียว คือ ฤดูฝนพื้นที่ชนบทส่วนนี้ต้องพึ่งธรรมชาติเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่ดอน ยากแก่การทำระบบชลประทาน การเก็บกักน้ำทำได้ยาก เนื่องจากดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดังนั้นการเพาะปลูกจึงทำได้เฉพาะข้าวนาปี ซึ่งคิดพื้นที่ในภาคอีสานทั้งหมดที่ปลูกข้าวนาปีมีถึงร้อยละ ๘๕ ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ มีพื้นที่บางส่วนทำการปลูกพืชไร่ครั้งเดียว เช่น ปอ ข้าวโพด ส่วนฤดูแล้ง คนชนบทเหล่านี้จะเก็บผัก หาปลา จับสัตว์ ตัดฟืน เลี้ยงสัตว์ ซ่อมบ้าน ฯลฯ บางส่วนก็จะเข้ามาหางานทำ โดยการรับจ้างในตัวเมืองหรือจังหวัดอื่นๆ หรือมาหางานทำในกรุงเทพฯ พอถึงฤดูทำนาก็จะกลับบ้านเพื่อช่วยครอบครัวทำนา บางคนไม่อยากกลับก็จะส่งเงินไปให้ทางครอบครัว จ้างคนมาช่วยทำงานแทน ข้าวที่ชาวนาในภาคอีสานปลูกเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นข้าวเหนียว ทั้งนี้เพราะชาวอีสานนิยมบริโภคข้าวเหนียว กับอาหารประเภทน้ำพริก ปลาร้า ส้มตำ ซุบหน่อไม้ ฯลฯ ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้าน ผลิตผลของข้าวนาปีในภาคอีสานนี้ก็ยังต่ำมาก คือผลิตได้เพียงไร่ละ ๒๐-๒๕ ถัง ที่ผลิตผลของข้าวได้ต่ำเช่นนี้ เนื่องมาจากคุณภาพของดินไม่เหมาะสม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ในบางแห่งมีปัญหาเรื่องดินเค็ม ดินเป็นทราย หรือดินที่มีหินและดินลูกรัง บางแห่งดินเค็มถึงขนาดบนผิวดินจะปรากฏคราบของเกลืออย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้ผลิตผลของข้าวในที่นาที่เป็นดินเค็มเฉลี่ยได้เพียง ๑๒-๑๕ ถังต่อไร่เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ แม้ชาวนาในแต่ละครัวเรือนของภาคอีสานจะมีที่ดินของตนเองและมีที่ดินถือครองเพื่อการทำนาเฉลี่ยถัง ๑๔ ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าภาคอื่นๆ แต่ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวทำให้ผลิตผลของข้าวที่ชาวนาผลิตได้ไม่มากนักและในบางกรณีก็พอเพียงที่จะกินภายในครัวเรือนในแต่ละปีเท่านั้น โดยแต่ละครัวเรือนจะมีสมาชิกหรือคนในบ้านเฉลี่ย ๖ คน ซึ่งถ้าปีใดฝนไม่ตกตามฤดูกาล ปีนั้นคนชนบทบางส่วนในภาคอีสานนี้ก็ต้องอดข้าวหรือต้องอพยพไปที่อื่นเพื่อยังชีวิตไว้
ภาคเหนือ คนชนบทในภาคเหนือที่ยากจนมักจะบุกรุกเขตป่าไม้เพื่อเป็นที่ทำกิน ในปีแรกๆ พื้นที่เหล่านั้นยังอุดมสมบูรณ์ก็ให้ผลิตผลข้าวหรือพืชไร่สูงพอสมควร แต่ในเมื่อใช้ที่ดินนั้นเพาะปลูกไปนานปีเข้า โดยไม่ได้ทำนุบำรุงดินให้มีธาตุอาหาร ที่ดินนั้นก็เสื่อมคุณภาพ ผลิตผลก็จะต่ำลงมาก เช่น ข้าวไร่จากเดิม ๓๐ ถังต่อไร่ อาจเหลือเพียง ๒๐ ถังต่อไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้ยังเป็นพันธุ์เดิม นอกจากนี้พืชไร่ที่นิยมปลูก คือ ข้าวโพด ก็มีลักษณะเดียวกันกับข้าวไร่ ซึ่งเป็นการเพาะปลูกเพียงฤดูเดียวคือ ฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งขาดน้ำในการเพาะปลูกเนื่องจากที่ดินเป็นหินดินดาน และดินทราย ไม่เก็บความชุ่มชื้น และคุณภาพของหน้าดินเสื่อมเร็วกว่าปกติเมื่อถูกฝนชะล้างผิวหน้าดิน คนชนบทยากจนในภาคเหนือนี้มีทั้งคนไทยและคนไทยภูเขา สำหรับในเขตที่สูง มีปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย คือ การย้ายที่ทำการเกษตรไปเรื่อยๆ ซึ่งมีอยู่มากเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งในเขตนี้ ในเขตชนบทยากจนในภาคเหนือนี้ มีคนจำนวนมากที่ไม่มีที่ดินทำกิน คนเหล่านี้มีรายได้หลักจากการประกอบอาชีพด้วยการนำทรัพยากรธรรมชาติในป่ามาขาย เช่น หาของป่า หาน้ำผึ้ง เก็บใบตอง ไม้ไผ่ หน่อไม้ ฯลฯ บางพวกก็รับจ้างทำงานในไร่นาตลอดทั้งปี บางพวกก็ต้องอพยพไปทำงานที่อื่นเช่นเดียวกับคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคใต้ คนชนบทส่วนใหญ่ในภาคใต้ มักประกอบอาชีพทำสวนยาง ยางพาราเป็นพืชที่เหมาะสมกับลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้ คือ ฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดปี โดยปกติการทำสวนยางให้รายได้ค่อนข้างสูง แต่ก็มีชาวสวนยางบางส่วนที่ยากจน เนื่องจากมีสวนยางขนาดเล็กคือต่ำกว่า ๑๑ ไร่ต่อครัวเรือน และเป็นยางพันธุ์เก่าที่ให้ผลิตผลต่ำเพียง ๓๐-๖๐ กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นชาวสวนยางประเภทนี้เมื่อว่างจากงานในสวนของตนก็ต้องรับจ้างทำงานในสวนยางของผู้อื่น เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เนื่องจากการดำรงชีวิตในภาคใต้นี้เงินมีส่วนสำคัญ เพราะข้าวปลาอาหารเป็นสิ่งที่ต้องซื้อหาทั้งสิ้น ไม่สามารถปลูกได้พอกินเช่นในภาคอื่นๆ การทำนาในภาคใต้ก็ทำกันน้อย ชาวนาภาคใต้ที่มีฐานะยากจน ส่วนใหญ่ทำนาครั้งเดียวโดยอาศัยน้ำฝน โดยทั่วไปจะมีเนื้อที่ทำนาน้อยเฉลี่ยเพียง ๙ ไร่ต่อครัวเรือน และผลิตผลของข้าวเฉลี่ยได้เพียง ๒๗ ถังต่อไร่ เนื่องจากพื้นที่ทำนาข้าวบางส่วนของภาคใต้มีปัญหา คือ เป็นดินเค็มฝาด มีความกระด้างสูง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ๘ แสนไร่อยู่ในจังหวัดปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส นอกจากนี้ ในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งที่ใช้เป็นที่ทำการเพาะปลูกยังประสบปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากลมมรสุมและน้ำทะเลหนุน
ความหมาย[ชนนะบด] น. บ้านนอก, เขตแดนที่พ้นจากเมืองหลวง ออกไป. (ป., ส. ชนปท).
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัญหาพื้นฐานของภาคตะวันออกเฉียงหรือภาคอีสาน ก็คือ การเพาะปลูกได้เพียงฤดูเดียว คือ ฤดูฝนพื้นที่ชนบทส่วนนี้ต้องพึ่งธรรมชาติเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพภูมิประเทศเป็นที่ดอน ยากแก่การทำระบบชลประทาน การเก็บกักน้ำทำได้ยาก เนื่องจากดินส่วนใหญ่เป็นดินทราย ดังนั้นการเพาะปลูกจึงทำได้เฉพาะข้าวนาปี ซึ่งคิดพื้นที่ในภาคอีสานทั้งหมดที่ปลูกข้าวนาปีมีถึงร้อยละ ๘๕ ใน พ.ศ. ๒๕๒๒ มีพื้นที่บางส่วนทำการปลูกพืชไร่ครั้งเดียว เช่น ปอ ข้าวโพด ส่วนฤดูแล้ง คนชนบทเหล่านี้จะเก็บผัก หาปลา จับสัตว์ ตัดฟืน เลี้ยงสัตว์ ซ่อมบ้าน ฯลฯ บางส่วนก็จะเข้ามาหางานทำ โดยการรับจ้างในตัวเมืองหรือจังหวัดอื่นๆ หรือมาหางานทำในกรุงเทพฯ พอถึงฤดูทำนาก็จะกลับบ้านเพื่อช่วยครอบครัวทำนา บางคนไม่อยากกลับก็จะส่งเงินไปให้ทางครอบครัว จ้างคนมาช่วยทำงานแทน ข้าวที่ชาวนาในภาคอีสานปลูกเป็นส่วนใหญ่ จะเป็นข้าวเหนียว ทั้งนี้เพราะชาวอีสานนิยมบริโภคข้าวเหนียว กับอาหารประเภทน้ำพริก ปลาร้า ส้มตำ ซุบหน่อไม้ ฯลฯ ซึ่งเป็นอาหารพื้นบ้าน ผลิตผลของข้าวนาปีในภาคอีสานนี้ก็ยังต่ำมาก คือผลิตได้เพียงไร่ละ ๒๐-๒๕ ถัง ที่ผลิตผลของข้าวได้ต่ำเช่นนี้ เนื่องมาจากคุณภาพของดินไม่เหมาะสม ขาดความอุดมสมบูรณ์ ในบางแห่งมีปัญหาเรื่องดินเค็ม ดินเป็นทราย หรือดินที่มีหินและดินลูกรัง บางแห่งดินเค็มถึงขนาดบนผิวดินจะปรากฏคราบของเกลืออย่างเห็นได้ชัด ซึ่งทำให้ผลิตผลของข้าวในที่นาที่เป็นดินเค็มเฉลี่ยได้เพียง ๑๒-๑๕ ถังต่อไร่เท่านั้น ด้วยเหตุนี้ แม้ชาวนาในแต่ละครัวเรือนของภาคอีสานจะมีที่ดินของตนเองและมีที่ดินถือครองเพื่อการทำนาเฉลี่ยถัง ๑๔ ไร่ต่อครัวเรือน ซึ่งสูงกว่าภาคอื่นๆ แต่ปัญหาต่างๆ ดังกล่าวทำให้ผลิตผลของข้าวที่ชาวนาผลิตได้ไม่มากนักและในบางกรณีก็พอเพียงที่จะกินภายในครัวเรือนในแต่ละปีเท่านั้น โดยแต่ละครัวเรือนจะมีสมาชิกหรือคนในบ้านเฉลี่ย ๖ คน ซึ่งถ้าปีใดฝนไม่ตกตามฤดูกาล ปีนั้นคนชนบทบางส่วนในภาคอีสานนี้ก็ต้องอดข้าวหรือต้องอพยพไปที่อื่นเพื่อยังชีวิตไว้
ภาคเหนือ คนชนบทในภาคเหนือที่ยากจนมักจะบุกรุกเขตป่าไม้เพื่อเป็นที่ทำกิน ในปีแรกๆ พื้นที่เหล่านั้นยังอุดมสมบูรณ์ก็ให้ผลิตผลข้าวหรือพืชไร่สูงพอสมควร แต่ในเมื่อใช้ที่ดินนั้นเพาะปลูกไปนานปีเข้า โดยไม่ได้ทำนุบำรุงดินให้มีธาตุอาหาร ที่ดินนั้นก็เสื่อมคุณภาพ ผลิตผลก็จะต่ำลงมาก เช่น ข้าวไร่จากเดิม ๓๐ ถังต่อไร่ อาจเหลือเพียง ๒๐ ถังต่อไร่ พันธุ์ข้าวที่ใช้ยังเป็นพันธุ์เดิม นอกจากนี้พืชไร่ที่นิยมปลูก คือ ข้าวโพด ก็มีลักษณะเดียวกันกับข้าวไร่ ซึ่งเป็นการเพาะปลูกเพียงฤดูเดียวคือ ฤดูฝน ส่วนฤดูแล้งขาดน้ำในการเพาะปลูกเนื่องจากที่ดินเป็นหินดินดาน และดินทราย ไม่เก็บความชุ่มชื้น และคุณภาพของหน้าดินเสื่อมเร็วกว่าปกติเมื่อถูกฝนชะล้างผิวหน้าดิน คนชนบทยากจนในภาคเหนือนี้มีทั้งคนไทยและคนไทยภูเขา สำหรับในเขตที่สูง มีปัญหาการทำไร่เลื่อนลอย คือ การย้ายที่ทำการเกษตรไปเรื่อยๆ ซึ่งมีอยู่มากเป็นปัญหาสำคัญประการหนึ่งในเขตนี้ ในเขตชนบทยากจนในภาคเหนือนี้ มีคนจำนวนมากที่ไม่มีที่ดินทำกิน คนเหล่านี้มีรายได้หลักจากการประกอบอาชีพด้วยการนำทรัพยากรธรรมชาติในป่ามาขาย เช่น หาของป่า หาน้ำผึ้ง เก็บใบตอง ไม้ไผ่ หน่อไม้ ฯลฯ บางพวกก็รับจ้างทำงานในไร่นาตลอดทั้งปี บางพวกก็ต้องอพยพไปทำงานที่อื่นเช่นเดียวกับคนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคใต้ คนชนบทส่วนใหญ่ในภาคใต้ มักประกอบอาชีพทำสวนยาง ยางพาราเป็นพืชที่เหมาะสมกับลักษณะภูมิอากาศของภาคใต้ คือ ฝนตกชุ่มชื้นเกือบตลอดปี โดยปกติการทำสวนยางให้รายได้ค่อนข้างสูง แต่ก็มีชาวสวนยางบางส่วนที่ยากจน เนื่องจากมีสวนยางขนาดเล็กคือต่ำกว่า ๑๑ ไร่ต่อครัวเรือน และเป็นยางพันธุ์เก่าที่ให้ผลิตผลต่ำเพียง ๓๐-๖๐ กิโลกรัมต่อไร่ ดังนั้นชาวสวนยางประเภทนี้เมื่อว่างจากงานในสวนของตนก็ต้องรับจ้างทำงานในสวนยางของผู้อื่น เพื่อหารายได้มาจุนเจือครอบครัว เนื่องจากการดำรงชีวิตในภาคใต้นี้เงินมีส่วนสำคัญ เพราะข้าวปลาอาหารเป็นสิ่งที่ต้องซื้อหาทั้งสิ้น ไม่สามารถปลูกได้พอกินเช่นในภาคอื่นๆ การทำนาในภาคใต้ก็ทำกันน้อย ชาวนาภาคใต้ที่มีฐานะยากจน ส่วนใหญ่ทำนาครั้งเดียวโดยอาศัยน้ำฝน โดยทั่วไปจะมีเนื้อที่ทำนาน้อยเฉลี่ยเพียง ๙ ไร่ต่อครัวเรือน และผลิตผลของข้าวเฉลี่ยได้เพียง ๒๗ ถังต่อไร่ เนื่องจากพื้นที่ทำนาข้าวบางส่วนของภาคใต้มีปัญหา คือ เป็นดินเค็มฝาด มีความกระด้างสูง ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ๘ แสนไร่อยู่ในจังหวัดปัตตานี สตูล ยะลา และนราธิวาส นอกจากนี้ ในบริเวณที่ราบลุ่มชายฝั่งที่ใช้เป็นที่ทำการเพาะปลูกยังประสบปัญหาน้ำท่วม เนื่องจากลมมรสุมและน้ำทะเลหนุน
การเกษตร
ความหมายของการเกษตร
การเกษตร แปลมาจากคำว่า Agriculture (Agri หมายถึง ทุ่งหรือดิน , Culture หมายถึง การปลูกหรือปฏิบัติ) ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมานั่นเอง และเมื่อนำไปใช้ในทางวิชาการก็ได้ขยายความออกไปอีกว่า
การเกษตร คือการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิตเ วิชาการเกษตรจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ในอุตสาหกรรม หรือนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
เกษตรกรรม (Cultural Practice) หมายถึง วิธีการทำการเกษตร ซึ่งอาจหมายถึง วิธีการปลูกพืช ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่ากสิกรรม หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์บก หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์น้ำก็ได้
เกษตรกรรม แบ่งออกได้เป็น 4 สาขา คือ
1. กสิกรรม หมายถึง การปลูกพืชเพียงอย่างเดียว
2. ปศุสัตว์ หมายถึง การเลี้ยงสัตว์บก
3. การประมง หมายถึง การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจับสัตว์น้ำ
4. ป่าไม้ หมายถึง การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เป็นประโยชน์
เกษตรกร หมายถึง ผู้ที่ทำการเกษตรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง ป่าไม้ หรือเลี้ยงสัตว์ ส่วนกสิกร หมายถึง ผู้ที่ทำการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการทำป่าไม้ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เป็นต้น
ความสำคัญของการเกษตร
1. การเกษตรเป็นแหล่งที่มาของปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยของการดำรงชีวิตของประชากรของโลก
2. การเกษตรมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างเช่น ประเทศในแถบเอเชียหลายประเทศมีรายได้หลักมาจากการส่งสินค้าการเกษตรออกจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย
3. การเกษตรช่วยให้ประชากรของแต่ละประเทศมีงานทำ โดยเฉพาะประเทศไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ประชากรประมาณร้อยละ 80 มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ในปัจจุบันอาชีพการเกษตรลดน้อยลงมาก ทั้งนี้เพราะว่ามีอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมามากมายนั่นเอง
ความสำคัญของพืชและสัตว์ พืช ให้อาหารทุกประเภทที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแก่มนุษย์และสัตว์ทั่วไป ซึ่งอาหารที่ได้จากพืชอาจจำแนกออกได้เป็นอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ โดยประชากรของโลกประมาณหนึ่งในสองได้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจากข้าว ส่วนที่เหลือรับประทานข้าวสาลี และข้าวโพดเป็นอาหารหลัก
ซึ่งคาร์โบไฮเดรตนั้นจะได้มาจากพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต และอ้อย ส่วนอาหารประเภทโปรตีนและไขมันจะได้จากพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลืองมีโปรตีนอยู่ประมาณ 37% (โดยน้ำหนัก) และมีไขมันอยู่ 20% ถั่วลิสงมีโปรตีนอยู่ 27% และมีไขมันอยู่ถึง 50% โดยประมาณ พืชบางชนิดพบว่าเป็นแหล่งของวิตามินที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ เช่น วิตามินเอ พบในแคร์รอท มะละกอ และผักชนิดต่าง ๆ , วิตามินบี พบในไข่และตับ , วิตามินซี พบในผลส้มและมะนาว , วิตามินดี พบในผักสีเขียว , วิตามินอี พบในไขมันพืช เป็นต้น
นอกจากพืชจะเป็นแหล่งอาหารประเภทต่าง ๆ แล้ว พืชบางชนิดยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต รูทเบียร์ มะตูม ฯลฯ และบางชนิดใช้ทำเป็นเครื่องปรุงแต่งรสอาหารให้มีกลิ่น รสน่ารับประทานได้อีกด้วย เช่น พริกไทย กานพลู วานิลลา มัสตาส ฯลฯ
พืชเป็นวัตถุดิบที่ใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น โรงงานไม้แปรรูป โรงงานทำกระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมทำอาหารกระป๋อง โรงงานทำอาหารสำเร็จรูป โรงงานทำอาหารแห้ง และโรงงานทำน้ำตาล ซึ่งโรงงานเหล่านี้ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งสิ้นพืชหลายชนิดให้เส้นใยเพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ
1. ฝ้าย จัดว่าเป็นพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งฝ้ายนี้เป็นวัตถุดิบที่มีความคงทน เหนียว และยืดหยุ่นได้ดี ประเทศอินเดียเป็นประเทศแรกที่นำฝ้ายมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
2. ป่าน เป็นพืชที่มีความสำคัญรองลงมาจากฝ้าย ใช้เป็นวัตถุดิบในงานพิเศษบางอย่างที่ต้องใช้เส้นใยที่มีความยืดหยุ่นและความทนทานสูง เช่น การทำท่อดับเพลิง
3. ปอ ในประเทศไทยปลูกกันอยู่ 2 ชนิด คือ ปอแก้ว และปอกระเจา โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปอส่วนใหญ่ ได้แก่ เชือก กระสอบ เป็นต้น
4. นุ่น เป็นเส้นใยที่มีความอ่อนนุ่มและเหนียวพอสมควร แต่นุ่นมีข้อเสียคือ มีเส้นใยสั้น
ในสมัยอียิปต์ สมัยกรีก และสมัยโรมัน พืชหลายชนิดถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ฝิ่นมีสารมอร์ฟีน ซิงโคนามีสารควินิน ชาและกาแฟมีสารคาเฟอีน และยูคาลิปตัส มีน้ำมันยูคาลิปตัส จึงได้ทำการสกัดเอาสารเหล่านั้นมาทำยารักษาโรค ในปี ค.ศ. 1928 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ได้ค้นพบสารที่มีชื่อว่า เพนนิซิลลิน (ยาปฏิชีวนะ) ซึ่งสามารถรักษาโรคแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี ต่อมาได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะขึ้นมาอีกหลายชนิด เช่น Streptomycin Terramycin และ Aureomycin เป็นต้น นอกจากนี้พืชยังให้สารต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น สารฆ่าแมลง ได้แก่ สารโรทีโนนและสารไพรีธริน ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะใช้เป็นย่าฆ่าแมลง สารเมนทอลซึ่งสกัดได้จากใบมินท์ เป็นต้น
สัตว์ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ เนื้อสัตว์ใช้เป็นอาหาร หนังสัตว์และขนสัตว์บางชนิดเมื่อฟอกแล้วสามารถนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ได้ มูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช และสัตว์บางชนิดยังใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้อีกด้วย
ป่าไม้ โดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะถามว่าป่าไม้คืออะไรก็ไม่มีใครตอบได้แน่นอน ป่าไม้อาจจะเป็นพื้นที่ที่มีต้นไม้ใหญ่ ๆ ขึ้นโดยไม่มีขอบเขตที่แน่นอน หรืออาจจะเป็นป่าโปร่งที่ประกอบด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นป่าดงดิบที่ประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ ๆ มากมายก็ได้ ประโยชน์ของป่าไม้ มีดังนี้
1. ป้องกันความแห้งแล้ง
2. ป้องกันน้ำท่วม
3. ป้องกันดินทลาย
4. รักษาสภาพบรรยากาศให้สมดุล
5. ทำให้ฝนตก
6. สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจนหรือสารอินทรีย์ได้
7. ทำให้ศัตรูของพืชเศรษฐกิจลดลง ออกซิเจนจะถูกผลิตขึ้นในบริเวณป่าไม้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะต้นไม้ใหญ่น้อยจำนวนมากในป่าจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อนำไปสังเคราะห์แสง และคายออกซิเจนออกมานั่นเอง
การเกษตร แปลมาจากคำว่า Agriculture (Agri หมายถึง ทุ่งหรือดิน , Culture หมายถึง การปลูกหรือปฏิบัติ) ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมานั่นเอง และเมื่อนำไปใช้ในทางวิชาการก็ได้ขยายความออกไปอีกว่า
การเกษตร คือการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิตเ วิชาการเกษตรจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ในอุตสาหกรรม หรือนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
เกษตรกรรม (Cultural Practice) หมายถึง วิธีการทำการเกษตร ซึ่งอาจหมายถึง วิธีการปลูกพืช ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่ากสิกรรม หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์บก หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์น้ำก็ได้
เกษตรกรรม แบ่งออกได้เป็น 4 สาขา คือ
1. กสิกรรม หมายถึง การปลูกพืชเพียงอย่างเดียว
2. ปศุสัตว์ หมายถึง การเลี้ยงสัตว์บก
3. การประมง หมายถึง การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจับสัตว์น้ำ
4. ป่าไม้ หมายถึง การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เป็นประโยชน์
เกษตรกร หมายถึง ผู้ที่ทำการเกษตรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง ป่าไม้ หรือเลี้ยงสัตว์ ส่วนกสิกร หมายถึง ผู้ที่ทำการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการทำป่าไม้ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เป็นต้น
ความสำคัญของการเกษตร
1. การเกษตรเป็นแหล่งที่มาของปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยของการดำรงชีวิตของประชากรของโลก
2. การเกษตรมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างเช่น ประเทศในแถบเอเชียหลายประเทศมีรายได้หลักมาจากการส่งสินค้าการเกษตรออกจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย
3. การเกษตรช่วยให้ประชากรของแต่ละประเทศมีงานทำ โดยเฉพาะประเทศไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ประชากรประมาณร้อยละ 80 มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ในปัจจุบันอาชีพการเกษตรลดน้อยลงมาก ทั้งนี้เพราะว่ามีอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมามากมายนั่นเอง
ความสำคัญของพืชและสัตว์ พืช ให้อาหารทุกประเภทที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแก่มนุษย์และสัตว์ทั่วไป ซึ่งอาหารที่ได้จากพืชอาจจำแนกออกได้เป็นอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ โดยประชากรของโลกประมาณหนึ่งในสองได้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจากข้าว ส่วนที่เหลือรับประทานข้าวสาลี และข้าวโพดเป็นอาหารหลัก
ซึ่งคาร์โบไฮเดรตนั้นจะได้มาจากพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต และอ้อย ส่วนอาหารประเภทโปรตีนและไขมันจะได้จากพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลืองมีโปรตีนอยู่ประมาณ 37% (โดยน้ำหนัก) และมีไขมันอยู่ 20% ถั่วลิสงมีโปรตีนอยู่ 27% และมีไขมันอยู่ถึง 50% โดยประมาณ พืชบางชนิดพบว่าเป็นแหล่งของวิตามินที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ เช่น วิตามินเอ พบในแคร์รอท มะละกอ และผักชนิดต่าง ๆ , วิตามินบี พบในไข่และตับ , วิตามินซี พบในผลส้มและมะนาว , วิตามินดี พบในผักสีเขียว , วิตามินอี พบในไขมันพืช เป็นต้น
นอกจากพืชจะเป็นแหล่งอาหารประเภทต่าง ๆ แล้ว พืชบางชนิดยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต รูทเบียร์ มะตูม ฯลฯ และบางชนิดใช้ทำเป็นเครื่องปรุงแต่งรสอาหารให้มีกลิ่น รสน่ารับประทานได้อีกด้วย เช่น พริกไทย กานพลู วานิลลา มัสตาส ฯลฯ
พืชเป็นวัตถุดิบที่ใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น โรงงานไม้แปรรูป โรงงานทำกระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมทำอาหารกระป๋อง โรงงานทำอาหารสำเร็จรูป โรงงานทำอาหารแห้ง และโรงงานทำน้ำตาล ซึ่งโรงงานเหล่านี้ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งสิ้นพืชหลายชนิดให้เส้นใยเพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ
1. ฝ้าย จัดว่าเป็นพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งฝ้ายนี้เป็นวัตถุดิบที่มีความคงทน เหนียว และยืดหยุ่นได้ดี ประเทศอินเดียเป็นประเทศแรกที่นำฝ้ายมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
2. ป่าน เป็นพืชที่มีความสำคัญรองลงมาจากฝ้าย ใช้เป็นวัตถุดิบในงานพิเศษบางอย่างที่ต้องใช้เส้นใยที่มีความยืดหยุ่นและความทนทานสูง เช่น การทำท่อดับเพลิง
3. ปอ ในประเทศไทยปลูกกันอยู่ 2 ชนิด คือ ปอแก้ว และปอกระเจา โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปอส่วนใหญ่ ได้แก่ เชือก กระสอบ เป็นต้น
4. นุ่น เป็นเส้นใยที่มีความอ่อนนุ่มและเหนียวพอสมควร แต่นุ่นมีข้อเสียคือ มีเส้นใยสั้น
ในสมัยอียิปต์ สมัยกรีก และสมัยโรมัน พืชหลายชนิดถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ฝิ่นมีสารมอร์ฟีน ซิงโคนามีสารควินิน ชาและกาแฟมีสารคาเฟอีน และยูคาลิปตัส มีน้ำมันยูคาลิปตัส จึงได้ทำการสกัดเอาสารเหล่านั้นมาทำยารักษาโรค ในปี ค.ศ. 1928 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ได้ค้นพบสารที่มีชื่อว่า เพนนิซิลลิน (ยาปฏิชีวนะ) ซึ่งสามารถรักษาโรคแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี ต่อมาได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะขึ้นมาอีกหลายชนิด เช่น Streptomycin Terramycin และ Aureomycin เป็นต้น นอกจากนี้พืชยังให้สารต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น สารฆ่าแมลง ได้แก่ สารโรทีโนนและสารไพรีธริน ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะใช้เป็นย่าฆ่าแมลง สารเมนทอลซึ่งสกัดได้จากใบมินท์ เป็นต้น
สัตว์ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ เนื้อสัตว์ใช้เป็นอาหาร หนังสัตว์และขนสัตว์บางชนิดเมื่อฟอกแล้วสามารถนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ได้ มูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช และสัตว์บางชนิดยังใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้อีกด้วย
ป่าไม้ โดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะถามว่าป่าไม้คืออะไรก็ไม่มีใครตอบได้แน่นอน ป่าไม้อาจจะเป็นพื้นที่ที่มีต้นไม้ใหญ่ ๆ ขึ้นโดยไม่มีขอบเขตที่แน่นอน หรืออาจจะเป็นป่าโปร่งที่ประกอบด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นป่าดงดิบที่ประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ ๆ มากมายก็ได้ ประโยชน์ของป่าไม้ มีดังนี้
1. ป้องกันความแห้งแล้ง
2. ป้องกันน้ำท่วม
3. ป้องกันดินทลาย
4. รักษาสภาพบรรยากาศให้สมดุล
5. ทำให้ฝนตก
6. สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจนหรือสารอินทรีย์ได้
7. ทำให้ศัตรูของพืชเศรษฐกิจลดลง ออกซิเจนจะถูกผลิตขึ้นในบริเวณป่าไม้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะต้นไม้ใหญ่น้อยจำนวนมากในป่าจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อนำไปสังเคราะห์แสง และคายออกซิเจนออกมานั่นเอง
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)