ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อเป็นชาติเชื้อไทย............
เพลงนี้เป็นเพลงที่เราได้ยินอยู่ทุกวัน ทั้งเช้าและเย็นซึ่งเป็นเพลงที่มีความสำคัญ เพราะเพลงนี้เป็นเพลงประจำชาติไทยของเรา ที่ทุกคนจะต้องร้องและตระหนักในเนื้อหาของเพลง ความเสียสละของบรรพบุรุษ ความเป็นชาติไทยที่บรรพบุรุษของเรา ได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อรักษาผืนแผ่นดินขวานทอง ไว้ให้เราได้อยู่ได้อาศัยในปัจจุบัน ซากกระดูกเถ้าถ่านเลือดของบรรพบุรุษ ที่ได้หลั่งลงบนผืนแผ่นดินผืนนี้ ที่ๆเราได้อยู่อาศัยเป็นที่ทำกินประกอบอาชีพต่างๆมากมาย โดยเฉพาะที่เราเป็นทหารเราตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน บรรพบุรุษ ได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นทหารคนหนึ่ง ได้ร่วมมือกับเพื่อนทหารด้วยกันคิดโครงงานขึ้นมาอย่างหนึ่งชื่อว่า’’ทหารกับการพัฒนา’’เพื่อเป็นการถ่ายทอดให้ผู้ที่เข้ามาศึกษา ได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของทหารที่นอกจากจะเป็นรั้วของชาติ คอยปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ ตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้วยังมีหน้าที่อื่นๆอีกมากมาย ที่ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เช่นเป็นผู้นำในการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานหน่วยอื่นๆ เพื่อจะได้มีความเข้าใจเข้าถึงและพัฒนา อีกทั้งเป็นการตอบแทนบุญคุณบรรพบุรุษและแผ่นดินของเรา โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตชนบทที่จะต้องเข้าไปจัดการ เพื่อให้เกิดผลและประโยชน์มากที่สุด
ชนบท หรือ ที่หลายๆคนเรียกกันติดปากว่า ”บ้านนอก” นั้นเป็นลักษณะของชุมชนที่มีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเฉพาะคนที่อยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) ของประเทศไทย ทุกคนก็จะมองเห็นภาพที่มีแต่ความแห้งแล้ง ล้าสมัย มีควาย ไม่มีการพัฒนาขาดความเจริญไม่มีเทคโนโลยี แต่นั่นก็เป็นความคิดที่ถูกแต่ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะชนบทนั่นคือชุมชนที่คนอาศัยกันอยู่ห่างไกลออกไป จากสภาพความเป็นเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย โดยการพึ่งพากับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นการประกอบอาชีพชีวิตความเป็นอยู่ มีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความเชื่อเกี่ยวกับหลักศาสนา ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมทางศาสนาที่ในแต่ละชุมชน ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันเช่น ประเพณีการโดนตา ประเพณีวันสารท บุญบั้งไฟ สงกรานต์ และอีกหลายๆประเพณี จากชีวิตที่มีการพึ่งพาธรรมชาติ ชาวชนบทก็ได้มีวิธีการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นมาที่เราเรียกว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” คือการที่ชาวชนบทผลิตข้าวของเครื่องใช้ ด้วยมือของตนเอง ได้แก่ การจักรสาน การถักทอผ้า การปั้นเครื่องปั้นดินเผา ในช่วงแรกรูปแบบของการผลิต เป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในครัวเรือนของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน แต่ในปัจจุบันเรื่องของเศรษฐกิจการตลาด เข้ามามีบทบาททำให้การผลิตเปลี่ยนแปลงไป เป็นการผลิตเพื่อเข้าตลาดสู่กระบวนการขายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พื้นที่ในชุมชนในชนบทค่อนข้างที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตทางด้านปัจจัยสี่ ที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะปัจจัยทางด้านการเกษตร ส่วนในด้านความคิดที่ว่าชนบทไม่มีการพัฒนานั้นเป็นเพียงความคิดที่หลงผิดไปกับคำว่า พัฒนา คือการที่จะต้องมี รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ รถไฟฟ้า ตึกอาคารที่ใหญ่โตโรงงานที่คอยสร้างแต่มลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนที่อยู่อาศัย หากแต่การพัฒนาของชนบทคือ การพัฒนาทางด้านจิตใจ มีความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน คนในหมู่บ้านช่วยกันทำงาน หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ลงแขก” ลงแขก คือ การขอความร่วมมือจากเพื่อนบ้านในการช่วยทำงาน โดยที่ไม่มีเงินเป็นผลตอบแทน มีแต่น้ำใจของคนในชุมชนที่ช่วยกันทำด้วยความเต็มใจ แต่ในชนบทยังขาดการจัดการที่ดีความเป็นระบบ ทหารก็เป็นส่วนที่เข้าไปมีบทบาทในการจัดการให้ความช่วยเหลือ ให้กับชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคมโดยทำเป็นโครงการขึ้นมา แล้วชักชวนชักนำ พาชาวบ้านพัฒนาถนนหนทาง
เช่นการถมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ขุดคลองระบายน้ำข้างถนน ปลูกต้นไม้ริมทาง ส่วนในด้านการเกษตร ทหารเราก็มีหน่วยงานที่ชื่อว่า หน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่ (นพค.) เข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรการทำปุ๋ย ความรู้เกี่ยวกับการทำ EM ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมนี้เป็นอาชีพหลักของชาวชนบท และทหารยังส่งเสริมให้ชาวชนบททำเกี่ยวกับการเกษตรแบบผสมผสาน ยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างครอบครัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ครอบครัวจะได้มีความเข้มแข็ง ชุมชนก็จะเข้มแข็งและประเทศชาติก็จะเข้มแข็งในที่สุด
คงทราบกันดีว่าชาวชนบททำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก การเกษตร ก็คือ การปฏิบัติที่เกี่ยวกับที่ดิน เพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมา โดยการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติ การเกษตรประกอบไปด้วย
การกสิกรรม คือ การปลูกพืช
การปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์บก
การประมง คือ การเลี้ยงสัตว์น้ำ และ การจับสัตว์น้ำ
การป่าไม้ คือ การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์
การเกษตรเป็นกิจกรรมที่สำคัญ เพราะเป็นที่มาของปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก และยังมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังจะเห็นได้จากการส่งสินค้าการเกษตรออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นการสร้างเสริมให้ประชาชนชาวไทย ในเขตชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการที่มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ลักษณะของการทำการเกษตรของคนในชนบท นั้นมีการพึ่งพาน้ำจากธรรมชาติและเป็นการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว คือ การทำนาก็จะทำนาเพียงอย่างเดียว แต่พอการทหารได้เข้ามามีบทบาทในการนำเอาความรู้ เกี่ยวกับการเกษตรเข้ามาถ่ายทอดให้ชาวบ้านได้รู้และเข้าใจ พร้อมทั้งนำหลักการการเกษตรแบบผสมผสาน หลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาสนับสนุน ให้ชาวบ้านได้ทดลองทำและให้การสนับสนุนด้านปัจจัยต่างๆ ก็จะส่งผลให้รูปแบบการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไป ผลผลิตมีคุณภาพและได้ในปริมาณที่มากขึ้น
ได้มีการจัดทำโครงการเข้ามาให้ประชาชนได้ทำร่วมกับทหาร จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน เพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพให้กับคนในชุมชน ก่อให้เกิดการรักและหวงแหนในพื้นที่ชุมชนของตนเอง ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
ในอนาคตการเกษตรในประเทศไทย จะเป็นไปในสามรูปแบบคือ
- เกษตรแบบครัวเรือน แบบเล็กๆแรงงานในครัวเรือนตนเอง
- การเกษตรขนาดใหญ่
- การเกษตรก้าวหน้า จะอาศัยความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ทำการเกษตร สิ่งที่สำคัญก็คือ ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม กับวิถีการเกษตรแต่ละประเภท โดยจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด และทหารกับประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือ แก่กันและกันเพื่อความก้าวหน้าในด้านการต่างๆ ยังจะส่งผลให้ประเทศมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อที่ว่าประเทศของเราจะได้เป็นประเทศที่เข้มแข็งและมั่นคงตราบนานเท่านาน
เพลงนี้เป็นเพลงที่เราได้ยินอยู่ทุกวัน ทั้งเช้าและเย็นซึ่งเป็นเพลงที่มีความสำคัญ เพราะเพลงนี้เป็นเพลงประจำชาติไทยของเรา ที่ทุกคนจะต้องร้องและตระหนักในเนื้อหาของเพลง ความเสียสละของบรรพบุรุษ ความเป็นชาติไทยที่บรรพบุรุษของเรา ได้เสียสละเลือดเนื้อเพื่อรักษาผืนแผ่นดินขวานทอง ไว้ให้เราได้อยู่ได้อาศัยในปัจจุบัน ซากกระดูกเถ้าถ่านเลือดของบรรพบุรุษ ที่ได้หลั่งลงบนผืนแผ่นดินผืนนี้ ที่ๆเราได้อยู่อาศัยเป็นที่ทำกินประกอบอาชีพต่างๆมากมาย โดยเฉพาะที่เราเป็นทหารเราตอบแทนบุญคุณแผ่นดิน บรรพบุรุษ ได้สมบูรณ์แล้วหรือยัง ในฐานะที่ข้าพเจ้าเป็นทหารคนหนึ่ง ได้ร่วมมือกับเพื่อนทหารด้วยกันคิดโครงงานขึ้นมาอย่างหนึ่งชื่อว่า’’ทหารกับการพัฒนา’’เพื่อเป็นการถ่ายทอดให้ผู้ที่เข้ามาศึกษา ได้รู้ถึงบทบาทหน้าที่ของทหารที่นอกจากจะเป็นรั้วของชาติ คอยปกป้องรักษาอธิปไตยของชาติเอาไว้ ตามที่คนทั่วไปเข้าใจแล้วยังมีหน้าที่อื่นๆอีกมากมาย ที่ทหารมีส่วนร่วมในการพัฒนาประเทศ เช่นเป็นผู้นำในการดำเนินงานโครงการตามแนวพระราชดำริ การประสานงานร่วมกับหน่วยงานหน่วยอื่นๆ เพื่อจะได้มีความเข้าใจเข้าถึงและพัฒนา อีกทั้งเป็นการตอบแทนบุญคุณบรรพบุรุษและแผ่นดินของเรา โดยเฉพาะพื้นที่ในเขตชนบทที่จะต้องเข้าไปจัดการ เพื่อให้เกิดผลและประโยชน์มากที่สุด
ชนบท หรือ ที่หลายๆคนเรียกกันติดปากว่า ”บ้านนอก” นั้นเป็นลักษณะของชุมชนที่มีอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย แต่คนส่วนใหญ่มักจะนึกถึงเฉพาะคนที่อยู่ใน ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ(ภาคอีสาน) ของประเทศไทย ทุกคนก็จะมองเห็นภาพที่มีแต่ความแห้งแล้ง ล้าสมัย มีควาย ไม่มีการพัฒนาขาดความเจริญไม่มีเทคโนโลยี แต่นั่นก็เป็นความคิดที่ถูกแต่ก็ไม่ถูกต้องทั้งหมด เพราะชนบทนั่นคือชุมชนที่คนอาศัยกันอยู่ห่างไกลออกไป จากสภาพความเป็นเมืองมีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย โดยการพึ่งพากับธรรมชาติเป็นส่วนใหญ่ ทั้งที่เป็นการประกอบอาชีพชีวิตความเป็นอยู่ มีวัฒนธรรมประเพณีที่มีความสอดคล้อง และสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ และความเชื่อเกี่ยวกับหลักศาสนา ดังจะเห็นได้จากพิธีกรรมทางศาสนาที่ในแต่ละชุมชน ในแต่ละพื้นที่ก็จะมีพิธีกรรมที่แตกต่างกันเช่น ประเพณีการโดนตา ประเพณีวันสารท บุญบั้งไฟ สงกรานต์ และอีกหลายๆประเพณี จากชีวิตที่มีการพึ่งพาธรรมชาติ ชาวชนบทก็ได้มีวิธีการผลิตอุปกรณ์เครื่องมือเครื่องใช้ขึ้นมาที่เราเรียกว่า “ภูมิปัญญาชาวบ้าน” คือการที่ชาวชนบทผลิตข้าวของเครื่องใช้ ด้วยมือของตนเอง ได้แก่ การจักรสาน การถักทอผ้า การปั้นเครื่องปั้นดินเผา ในช่วงแรกรูปแบบของการผลิต เป็นการผลิตเพื่อใช้ภายในครัวเรือนของตนเอง และแลกเปลี่ยนกับเพื่อนบ้าน แต่ในปัจจุบันเรื่องของเศรษฐกิจการตลาด เข้ามามีบทบาททำให้การผลิตเปลี่ยนแปลงไป เป็นการผลิตเพื่อเข้าตลาดสู่กระบวนการขายในพื้นที่ต่างๆ เพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว พื้นที่ในชุมชนในชนบทค่อนข้างที่จะมีความอุดมสมบูรณ์ เป็นแหล่งผลิตทางด้านปัจจัยสี่ ที่สำคัญของประเทศไทยโดยเฉพาะปัจจัยทางด้านการเกษตร ส่วนในด้านความคิดที่ว่าชนบทไม่มีการพัฒนานั้นเป็นเพียงความคิดที่หลงผิดไปกับคำว่า พัฒนา คือการที่จะต้องมี รถยนต์ มอเตอร์ไซด์ รถไฟฟ้า ตึกอาคารที่ใหญ่โตโรงงานที่คอยสร้างแต่มลพิษให้กับสิ่งแวดล้อม ส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของคนที่อยู่อาศัย หากแต่การพัฒนาของชนบทคือ การพัฒนาทางด้านจิตใจ มีความสมัครสมานสามัคคีในชุมชน คนในหมู่บ้านช่วยกันทำงาน หลายคนคงเคยได้ยินคำว่า “ลงแขก” ลงแขก คือ การขอความร่วมมือจากเพื่อนบ้านในการช่วยทำงาน โดยที่ไม่มีเงินเป็นผลตอบแทน มีแต่น้ำใจของคนในชุมชนที่ช่วยกันทำด้วยความเต็มใจ แต่ในชนบทยังขาดการจัดการที่ดีความเป็นระบบ ทหารก็เป็นส่วนที่เข้าไปมีบทบาทในการจัดการให้ความช่วยเหลือ ให้กับชาวบ้านไม่ว่าจะเป็นด้านการคมนาคมโดยทำเป็นโครงการขึ้นมา แล้วชักชวนชักนำ พาชาวบ้านพัฒนาถนนหนทาง
เช่นการถมถนนที่เป็นหลุมเป็นบ่อ ขุดคลองระบายน้ำข้างถนน ปลูกต้นไม้ริมทาง ส่วนในด้านการเกษตร ทหารเราก็มีหน่วยงานที่ชื่อว่า หน่วยทหารพัฒนาเคลื่อนที่ (นพค.) เข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการทำการเกษตรการทำปุ๋ย ความรู้เกี่ยวกับการทำ EM ซึ่งอาชีพเกษตรกรรมนี้เป็นอาชีพหลักของชาวชนบท และทหารยังส่งเสริมให้ชาวชนบททำเกี่ยวกับการเกษตรแบบผสมผสาน ยึดถือตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง สร้างครอบครัวให้สามารถพึ่งพาตนเองได้ ครอบครัวจะได้มีความเข้มแข็ง ชุมชนก็จะเข้มแข็งและประเทศชาติก็จะเข้มแข็งในที่สุด
คงทราบกันดีว่าชาวชนบททำการเกษตรเป็นอาชีพหลัก การเกษตร ก็คือ การปฏิบัติที่เกี่ยวกับที่ดิน เพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมา โดยการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์เข้ามาช่วยในการปฏิบัติ การเกษตรประกอบไปด้วย
การกสิกรรม คือ การปลูกพืช
การปศุสัตว์ คือ การเลี้ยงสัตว์บก
การประมง คือ การเลี้ยงสัตว์น้ำ และ การจับสัตว์น้ำ
การป่าไม้ คือ การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เกิดประโยชน์
การเกษตรเป็นกิจกรรมที่สำคัญ เพราะเป็นที่มาของปัจจัยสี่ ซึ่งเป็นปัจจัยหลักต่อการดำรงชีวิตของคนทั่วโลก และยังมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศด้วย ดังจะเห็นได้จากการส่งสินค้าการเกษตรออกไปจำหน่ายยังต่างประเทศ เป็นการสร้างเสริมให้ประชาชนชาวไทย ในเขตชนบทมีรายได้เพิ่มขึ้น จากการที่มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ลักษณะของการทำการเกษตรของคนในชนบท นั้นมีการพึ่งพาน้ำจากธรรมชาติและเป็นการทำการเกษตรแบบเชิงเดี่ยว คือ การทำนาก็จะทำนาเพียงอย่างเดียว แต่พอการทหารได้เข้ามามีบทบาทในการนำเอาความรู้ เกี่ยวกับการเกษตรเข้ามาถ่ายทอดให้ชาวบ้านได้รู้และเข้าใจ พร้อมทั้งนำหลักการการเกษตรแบบผสมผสาน หลักทฤษฎีเศรษฐกิจพอเพียงเข้ามาสนับสนุน ให้ชาวบ้านได้ทดลองทำและให้การสนับสนุนด้านปัจจัยต่างๆ ก็จะส่งผลให้รูปแบบการเกษตรมีการเปลี่ยนแปลงไป ผลผลิตมีคุณภาพและได้ในปริมาณที่มากขึ้น
ได้มีการจัดทำโครงการเข้ามาให้ประชาชนได้ทำร่วมกับทหาร จัดตั้งเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับชุมชน เพิ่มพูนทักษะในการประกอบอาชีพให้กับคนในชุมชน ก่อให้เกิดการรักและหวงแหนในพื้นที่ชุมชนของตนเอง ทำให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง
ในอนาคตการเกษตรในประเทศไทย จะเป็นไปในสามรูปแบบคือ
- เกษตรแบบครัวเรือน แบบเล็กๆแรงงานในครัวเรือนตนเอง
- การเกษตรขนาดใหญ่
- การเกษตรก้าวหน้า จะอาศัยความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรเป็นหลัก
ไม่ว่าจะเป็นใครก็ตามที่ทำการเกษตร สิ่งที่สำคัญก็คือ ความรู้และเทคโนโลยีการเกษตรที่เหมาะสม กับวิถีการเกษตรแต่ละประเภท โดยจะต้องเลือกให้เหมาะสมกับตนเองมากที่สุด และทหารกับประชาชนก็ต้องให้ความร่วมมือ แก่กันและกันเพื่อความก้าวหน้าในด้านการต่างๆ ยังจะส่งผลให้ประเทศมีทรัพยากรที่อุดมสมบูรณ์ เกิดเป็นชุมชนที่เข้มแข็ง เพื่อที่ว่าประเทศของเราจะได้เป็นประเทศที่เข้มแข็งและมั่นคงตราบนานเท่านาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น