ความหมายของการเกษตร
การเกษตร แปลมาจากคำว่า Agriculture (Agri หมายถึง ทุ่งหรือดิน , Culture หมายถึง การปลูกหรือปฏิบัติ) ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมานั่นเอง และเมื่อนำไปใช้ในทางวิชาการก็ได้ขยายความออกไปอีกว่า
การเกษตร คือการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิตเ วิชาการเกษตรจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ในอุตสาหกรรม หรือนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
เกษตรกรรม (Cultural Practice) หมายถึง วิธีการทำการเกษตร ซึ่งอาจหมายถึง วิธีการปลูกพืช ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่ากสิกรรม หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์บก หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์น้ำก็ได้
เกษตรกรรม แบ่งออกได้เป็น 4 สาขา คือ
1. กสิกรรม หมายถึง การปลูกพืชเพียงอย่างเดียว
2. ปศุสัตว์ หมายถึง การเลี้ยงสัตว์บก
3. การประมง หมายถึง การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจับสัตว์น้ำ
4. ป่าไม้ หมายถึง การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เป็นประโยชน์
เกษตรกร หมายถึง ผู้ที่ทำการเกษตรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง ป่าไม้ หรือเลี้ยงสัตว์ ส่วนกสิกร หมายถึง ผู้ที่ทำการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการทำป่าไม้ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เป็นต้น
ความสำคัญของการเกษตร
1. การเกษตรเป็นแหล่งที่มาของปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยของการดำรงชีวิตของประชากรของโลก
2. การเกษตรมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างเช่น ประเทศในแถบเอเชียหลายประเทศมีรายได้หลักมาจากการส่งสินค้าการเกษตรออกจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย
3. การเกษตรช่วยให้ประชากรของแต่ละประเทศมีงานทำ โดยเฉพาะประเทศไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ประชากรประมาณร้อยละ 80 มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ในปัจจุบันอาชีพการเกษตรลดน้อยลงมาก ทั้งนี้เพราะว่ามีอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมามากมายนั่นเอง
ความสำคัญของพืชและสัตว์ พืช ให้อาหารทุกประเภทที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแก่มนุษย์และสัตว์ทั่วไป ซึ่งอาหารที่ได้จากพืชอาจจำแนกออกได้เป็นอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ โดยประชากรของโลกประมาณหนึ่งในสองได้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจากข้าว ส่วนที่เหลือรับประทานข้าวสาลี และข้าวโพดเป็นอาหารหลัก
ซึ่งคาร์โบไฮเดรตนั้นจะได้มาจากพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต และอ้อย ส่วนอาหารประเภทโปรตีนและไขมันจะได้จากพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลืองมีโปรตีนอยู่ประมาณ 37% (โดยน้ำหนัก) และมีไขมันอยู่ 20% ถั่วลิสงมีโปรตีนอยู่ 27% และมีไขมันอยู่ถึง 50% โดยประมาณ พืชบางชนิดพบว่าเป็นแหล่งของวิตามินที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ เช่น วิตามินเอ พบในแคร์รอท มะละกอ และผักชนิดต่าง ๆ , วิตามินบี พบในไข่และตับ , วิตามินซี พบในผลส้มและมะนาว , วิตามินดี พบในผักสีเขียว , วิตามินอี พบในไขมันพืช เป็นต้น
นอกจากพืชจะเป็นแหล่งอาหารประเภทต่าง ๆ แล้ว พืชบางชนิดยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต รูทเบียร์ มะตูม ฯลฯ และบางชนิดใช้ทำเป็นเครื่องปรุงแต่งรสอาหารให้มีกลิ่น รสน่ารับประทานได้อีกด้วย เช่น พริกไทย กานพลู วานิลลา มัสตาส ฯลฯ
พืชเป็นวัตถุดิบที่ใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น โรงงานไม้แปรรูป โรงงานทำกระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมทำอาหารกระป๋อง โรงงานทำอาหารสำเร็จรูป โรงงานทำอาหารแห้ง และโรงงานทำน้ำตาล ซึ่งโรงงานเหล่านี้ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งสิ้นพืชหลายชนิดให้เส้นใยเพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ
1. ฝ้าย จัดว่าเป็นพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งฝ้ายนี้เป็นวัตถุดิบที่มีความคงทน เหนียว และยืดหยุ่นได้ดี ประเทศอินเดียเป็นประเทศแรกที่นำฝ้ายมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
2. ป่าน เป็นพืชที่มีความสำคัญรองลงมาจากฝ้าย ใช้เป็นวัตถุดิบในงานพิเศษบางอย่างที่ต้องใช้เส้นใยที่มีความยืดหยุ่นและความทนทานสูง เช่น การทำท่อดับเพลิง
3. ปอ ในประเทศไทยปลูกกันอยู่ 2 ชนิด คือ ปอแก้ว และปอกระเจา โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปอส่วนใหญ่ ได้แก่ เชือก กระสอบ เป็นต้น
4. นุ่น เป็นเส้นใยที่มีความอ่อนนุ่มและเหนียวพอสมควร แต่นุ่นมีข้อเสียคือ มีเส้นใยสั้น
ในสมัยอียิปต์ สมัยกรีก และสมัยโรมัน พืชหลายชนิดถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ฝิ่นมีสารมอร์ฟีน ซิงโคนามีสารควินิน ชาและกาแฟมีสารคาเฟอีน และยูคาลิปตัส มีน้ำมันยูคาลิปตัส จึงได้ทำการสกัดเอาสารเหล่านั้นมาทำยารักษาโรค ในปี ค.ศ. 1928 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ได้ค้นพบสารที่มีชื่อว่า เพนนิซิลลิน (ยาปฏิชีวนะ) ซึ่งสามารถรักษาโรคแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี ต่อมาได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะขึ้นมาอีกหลายชนิด เช่น Streptomycin Terramycin และ Aureomycin เป็นต้น นอกจากนี้พืชยังให้สารต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น สารฆ่าแมลง ได้แก่ สารโรทีโนนและสารไพรีธริน ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะใช้เป็นย่าฆ่าแมลง สารเมนทอลซึ่งสกัดได้จากใบมินท์ เป็นต้น
สัตว์ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ เนื้อสัตว์ใช้เป็นอาหาร หนังสัตว์และขนสัตว์บางชนิดเมื่อฟอกแล้วสามารถนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ได้ มูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช และสัตว์บางชนิดยังใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้อีกด้วย
ป่าไม้ โดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะถามว่าป่าไม้คืออะไรก็ไม่มีใครตอบได้แน่นอน ป่าไม้อาจจะเป็นพื้นที่ที่มีต้นไม้ใหญ่ ๆ ขึ้นโดยไม่มีขอบเขตที่แน่นอน หรืออาจจะเป็นป่าโปร่งที่ประกอบด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นป่าดงดิบที่ประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ ๆ มากมายก็ได้ ประโยชน์ของป่าไม้ มีดังนี้
1. ป้องกันความแห้งแล้ง
2. ป้องกันน้ำท่วม
3. ป้องกันดินทลาย
4. รักษาสภาพบรรยากาศให้สมดุล
5. ทำให้ฝนตก
6. สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจนหรือสารอินทรีย์ได้
7. ทำให้ศัตรูของพืชเศรษฐกิจลดลง ออกซิเจนจะถูกผลิตขึ้นในบริเวณป่าไม้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะต้นไม้ใหญ่น้อยจำนวนมากในป่าจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อนำไปสังเคราะห์แสง และคายออกซิเจนออกมานั่นเอง
การเกษตร แปลมาจากคำว่า Agriculture (Agri หมายถึง ทุ่งหรือดิน , Culture หมายถึง การปลูกหรือปฏิบัติ) ซึ่งหมายถึง การปฏิบัติเกี่ยวกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิต หรือการใช้พื้นที่เพื่อให้เกิดผลผลิตขึ้นมานั่นเอง และเมื่อนำไปใช้ในทางวิชาการก็ได้ขยายความออกไปอีกว่า
การเกษตร คือการใช้ศิลปะและวิทยาศาสตร์ในการปฏิบัติกับที่ดินเพื่อให้เกิดการผลิตเ วิชาการเกษตรจัดเป็นวิทยาศาสตร์ประยุกต์ (Applied Science) ซึ่งเป็นวิทยาศาสตร์ที่กล่าวถึงการนำเอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์ไปใช้ในกิจการต่าง ๆ ในชีวิตประจำวัน ในอุตสาหกรรม หรือนำไปใช้เพื่อเป็นประโยชน์ต่อมนุษย์
เกษตรกรรม (Cultural Practice) หมายถึง วิธีการทำการเกษตร ซึ่งอาจหมายถึง วิธีการปลูกพืช ซึ่งมีชื่อเฉพาะว่ากสิกรรม หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์บก หรือวิธีการเลี้ยงสัตว์น้ำก็ได้
เกษตรกรรม แบ่งออกได้เป็น 4 สาขา คือ
1. กสิกรรม หมายถึง การปลูกพืชเพียงอย่างเดียว
2. ปศุสัตว์ หมายถึง การเลี้ยงสัตว์บก
3. การประมง หมายถึง การเลี้ยงสัตว์น้ำ และการจับสัตว์น้ำ
4. ป่าไม้ หมายถึง การนำผลผลิตจากป่ามาใช้ให้เป็นประโยชน์
เกษตรกร หมายถึง ผู้ที่ทำการเกษตรทั้งหมดไม่ว่าจะเป็นชาวนา ชาวไร่ ชาวสวน ชาวประมง ป่าไม้ หรือเลี้ยงสัตว์ ส่วนกสิกร หมายถึง ผู้ที่ทำการปลูกพืชเพียงอย่างเดียว ซึ่งจะไม่รวมถึงการเลี้ยงสัตว์ การทำประมง และการทำป่าไม้ เช่น ชาวไร่ ชาวนา ชาวสวน เป็นต้น
ความสำคัญของการเกษตร
1. การเกษตรเป็นแหล่งที่มาของปัจจัย 4 คือ อาหาร เครื่องนุ่งห่ม ที่อยู่อาศัย และยารักษาโรค ซึ่งเป็นปัจจัยของการดำรงชีวิตของประชากรของโลก
2. การเกษตรมีอิทธิพลต่อเศรษฐกิจของประเทศ อย่างเช่น ประเทศในแถบเอเชียหลายประเทศมีรายได้หลักมาจากการส่งสินค้าการเกษตรออกจำหน่ายยังต่างประเทศ ซึ่งรวมทั้งประเทศไทยด้วย
3. การเกษตรช่วยให้ประชากรของแต่ละประเทศมีงานทำ โดยเฉพาะประเทศไทยเมื่อ 20 ปีที่แล้ว ประชากรประมาณร้อยละ 80 มีอาชีพอยู่ในภาคการเกษตร แต่ในปัจจุบันอาชีพการเกษตรลดน้อยลงมาก ทั้งนี้เพราะว่ามีอาชีพทางด้านอุตสาหกรรมเกิดขึ้นมามากมายนั่นเอง
ความสำคัญของพืชและสัตว์ พืช ให้อาหารทุกประเภทที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตแก่มนุษย์และสัตว์ทั่วไป ซึ่งอาหารที่ได้จากพืชอาจจำแนกออกได้เป็นอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมัน วิตามิน และแร่ธาตุชนิดต่าง ๆ โดยประชากรของโลกประมาณหนึ่งในสองได้อาหารประเภทคาร์โบไฮเดรตจากข้าว ส่วนที่เหลือรับประทานข้าวสาลี และข้าวโพดเป็นอาหารหลัก
ซึ่งคาร์โบไฮเดรตนั้นจะได้มาจากพืชตระกูลหญ้า เช่น ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโพด ข้าวไรย์ ข้าวโอ๊ต และอ้อย ส่วนอาหารประเภทโปรตีนและไขมันจะได้จากพืชตระกูลถั่ว เช่น ถั่วเหลืองมีโปรตีนอยู่ประมาณ 37% (โดยน้ำหนัก) และมีไขมันอยู่ 20% ถั่วลิสงมีโปรตีนอยู่ 27% และมีไขมันอยู่ถึง 50% โดยประมาณ พืชบางชนิดพบว่าเป็นแหล่งของวิตามินที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์และสัตว์ เช่น วิตามินเอ พบในแคร์รอท มะละกอ และผักชนิดต่าง ๆ , วิตามินบี พบในไข่และตับ , วิตามินซี พบในผลส้มและมะนาว , วิตามินดี พบในผักสีเขียว , วิตามินอี พบในไขมันพืช เป็นต้น
นอกจากพืชจะเป็นแหล่งอาหารประเภทต่าง ๆ แล้ว พืชบางชนิดยังสามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องดื่ม เช่น ชา กาแฟ ช็อกโกแลต รูทเบียร์ มะตูม ฯลฯ และบางชนิดใช้ทำเป็นเครื่องปรุงแต่งรสอาหารให้มีกลิ่น รสน่ารับประทานได้อีกด้วย เช่น พริกไทย กานพลู วานิลลา มัสตาส ฯลฯ
พืชเป็นวัตถุดิบที่ใช้ป้อนโรงงานอุตสาหกรรมบางชนิด เช่น โรงงานไม้แปรรูป โรงงานทำกระดาษ โรงงานอุตสาหกรรมทำอาหารกระป๋อง โรงงานทำอาหารสำเร็จรูป โรงงานทำอาหารแห้ง และโรงงานทำน้ำตาล ซึ่งโรงงานเหล่านี้ใช้วัตถุดิบจากผลผลิตทางการเกษตรทั้งสิ้นพืชหลายชนิดให้เส้นใยเพื่อทอเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ซึ่งพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญมี 4 ชนิด คือ
1. ฝ้าย จัดว่าเป็นพืชที่ให้เส้นใยที่สำคัญที่สุดของโลก ซึ่งฝ้ายนี้เป็นวัตถุดิบที่มีความคงทน เหนียว และยืดหยุ่นได้ดี ประเทศอินเดียเป็นประเทศแรกที่นำฝ้ายมาทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม
2. ป่าน เป็นพืชที่มีความสำคัญรองลงมาจากฝ้าย ใช้เป็นวัตถุดิบในงานพิเศษบางอย่างที่ต้องใช้เส้นใยที่มีความยืดหยุ่นและความทนทานสูง เช่น การทำท่อดับเพลิง
3. ปอ ในประเทศไทยปลูกกันอยู่ 2 ชนิด คือ ปอแก้ว และปอกระเจา โดยผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปอส่วนใหญ่ ได้แก่ เชือก กระสอบ เป็นต้น
4. นุ่น เป็นเส้นใยที่มีความอ่อนนุ่มและเหนียวพอสมควร แต่นุ่นมีข้อเสียคือ มีเส้นใยสั้น
ในสมัยอียิปต์ สมัยกรีก และสมัยโรมัน พืชหลายชนิดถูกนำมาใช้เป็นยารักษาโรคชนิดต่าง ๆ ต่อมานักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบว่า ฝิ่นมีสารมอร์ฟีน ซิงโคนามีสารควินิน ชาและกาแฟมีสารคาเฟอีน และยูคาลิปตัส มีน้ำมันยูคาลิปตัส จึงได้ทำการสกัดเอาสารเหล่านั้นมาทำยารักษาโรค ในปี ค.ศ. 1928 เซอร์ อเล็กซานเดอร์ เฟลมมิ่ง ได้ค้นพบสารที่มีชื่อว่า เพนนิซิลลิน (ยาปฏิชีวนะ) ซึ่งสามารถรักษาโรคแบคทีเรียได้เป็นอย่างดี ต่อมาได้มีการค้นพบยาปฏิชีวนะขึ้นมาอีกหลายชนิด เช่น Streptomycin Terramycin และ Aureomycin เป็นต้น นอกจากนี้พืชยังให้สารต่าง ๆ อีกมากมาย เช่น สารฆ่าแมลง ได้แก่ สารโรทีโนนและสารไพรีธริน ซึ่งสารทั้งสองชนิดนี้จะใช้เป็นย่าฆ่าแมลง สารเมนทอลซึ่งสกัดได้จากใบมินท์ เป็นต้น
สัตว์ มีประโยชน์ต่อการดำรงชีวิตของมนุษย์ คือ เนื้อสัตว์ใช้เป็นอาหาร หนังสัตว์และขนสัตว์บางชนิดเมื่อฟอกแล้วสามารถนำมาทำเป็นเครื่องนุ่งห่มและของใช้ชนิดต่าง ๆ ได้ มูลสัตว์ใช้เป็นปุ๋ยในการปลูกพืช และสัตว์บางชนิดยังใช้เป็นพาหนะในการเดินทางได้อีกด้วย
ป่าไม้ โดยทั่วไปแล้วจะประกอบไปด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ ถ้าจะถามว่าป่าไม้คืออะไรก็ไม่มีใครตอบได้แน่นอน ป่าไม้อาจจะเป็นพื้นที่ที่มีต้นไม้ใหญ่ ๆ ขึ้นโดยไม่มีขอบเขตที่แน่นอน หรืออาจจะเป็นป่าโปร่งที่ประกอบด้วยต้นไม้เล็กและต้นไม้ใหญ่ หรืออาจจะเป็นป่าดงดิบที่ประกอบด้วยต้นไม้ใหญ่ ๆ มากมายก็ได้ ประโยชน์ของป่าไม้ มีดังนี้
1. ป้องกันความแห้งแล้ง
2. ป้องกันน้ำท่วม
3. ป้องกันดินทลาย
4. รักษาสภาพบรรยากาศให้สมดุล
5. ทำให้ฝนตก
6. สามารถเปลี่ยนคาร์บอนไดออกไซด์ให้เป็นออกซิเจนหรือสารอินทรีย์ได้
7. ทำให้ศัตรูของพืชเศรษฐกิจลดลง ออกซิเจนจะถูกผลิตขึ้นในบริเวณป่าไม้มากที่สุด ทั้งนี้เพราะต้นไม้ใหญ่น้อยจำนวนมากในป่าจะดูดคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศเพื่อนำไปสังเคราะห์แสง และคายออกซิเจนออกมานั่นเอง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น